กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวในทุกสถานการณ์ เป็นภารกิจหลักของกรมการท่องเที่ยว โดยกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ด้วยบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง ที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทภารกิจสำคัญคือประสาน ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาคประชาชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้กรมการท่องเที่ยวโดยกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถรองรับคนทั้งมวลหรือ Tourism for All โดยมีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นแบบมาตรฐานที่สามารถรองรับผลทั้งมวล Universal Design ห้องน้ำศูนย์บริการข้อมูลร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก ศาลาพักคอย ป้ายสัญลักษณ์เน้นการออกแบบที่ให้บริการแก่คนทุกกลุ่มและเผยแพร่แบบมาตรฐานดังกล่าวแก่หน่วยงานเจ้าของพื้นที่เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นรูปธรรม และเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่เศรษฐกิจฐานรากและลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายของรัฐบาลกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยกำหนดตัวชี้วัดด้านต่างๆเพื่อเป็นกรอบแนวทางให้แหล่งเที่ยวชุมชนได้นำไปปรับปรุงเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งมีการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว พัฒนาความรู้และจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว การซื้อขาย การจอง พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นพื้นฐานเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเช่นจัดทำป้ายห้องน้ำศูนย์การเรียนรู้ชุมชนศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นต้น
กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกรมการท่องเที่ยวในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ต่อไป

อำนาจหน้าที่

กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  มีภารกิจความรับผิดชอบเกี่ยวกับ

๑. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อกำหนดแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ

๒. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการกำหนดการเปลี่ยนแปลง หรือการเพิกถอนเขตพัฒนาการท่องเที่ยว พร้อมแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ

๓. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนา การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลและเก็บรวบรวมสถิตินักท่องเที่ยว และจำนวนของแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ

๔. ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาการอนุรักษ์และการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

๕. สำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการวางแผนและออกแบบ รวมทั้งส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูปรับปรุง บูรณะ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลอดจนทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๖. ติดตามและประเมินผลคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการรายงานสถานการณ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๗. ดำเนินการประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ

๘. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีหน่วยงานภายใน ดังนี้

 

๑) กลุ่มบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่

๑.๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป และงานช่วยอำนวยการของกอง

๑.๒) จัดระบบการบริหารงานการเงินและการบัญชี แผนงาน งบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานธุรการ งานเอกสาร งานจัดซื้อจัดจ้าง งานพัสดุครุภัณฑ์ งานระเบียบแบบแผน งานข้อมูลข่าวสาร งานการประชุม งานติดต่อและประสาน งานติดตามตัวชี้วัดและระบบควบคุมภายในของกองเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผลผลิตที่กำหนดไว้

๑.๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

๒) กลุ่มวิชาการและมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว มีหน้าที่

๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ  การท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและความต้องการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและกระบวนการตรวจประเมินและรับรอง เพื่อให้เกิดการพัฒนา ยกระดับคุณภาพและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

๒.๓) สำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ และเก็บรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๒.๔) ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้แก่หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นเครือข่ายวิชาการด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

๒.๕) ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน  แหล่งท่องเที่ยวและกฎหมายที่กำหนด รวมถึงให้คำปรึกษาแนะนำด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๒.๖) ดำเนินการประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๒.๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

๓) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  มีหน้าที่

๓.๑) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว

ให้มีความสะดวก ปลอดภัย รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

๓.๒) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อติดตามสถานการณ์ การรายงานผลการอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๓.๓) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้ท่องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

๓.๔) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๓.๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

๔) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน มีหน้าที่

๔.๑) ส่งเสริมและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน

๔.๒) พัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบการเรียนรู้การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

๔.๓) ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชน

๔.๔) จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูล และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน

๔.๕) ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน

๔.๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

๕) กลุ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว มีหน้าที่

๕.๑) สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ที่สวยงาม ปลอดภัย รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๕.๒) วางแผนและกำหนดแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมการท่องเยวและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

๕.๓) ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำรายละเอียดแบบรูปรายการ พร้อมประมาณการราคาก่อสร้าง โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนตรวจสอบ และวิเคราะห์ความเหมาะสมกิจกรรมโครงการก่อสร้าง ปรับปรุง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๕.๔) ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

๕.๕) ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการจัดทำแบบรูปรายการ ประมาณราคาโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ

๕.๖) รวบรวม จัดทำแบบรูปรายการก่อสร้าง ปรับปรุง รายละเอียดกิจกรรมและประมาณการราคาโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๕.๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย